บทความน่ารู้

ชนิดของปั๊มลมและวิธีการเลือกใช้ปั๊มลม

 

ปั๊มลม หรือ เครื่องอัดลม (Air Compressor) 

เครื่องมืออุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับศูนย์บริการรถยนต์ อู่ซ่อมรถ โรงงานอุตสาหกรรม หรือ แม้แต่ร้านซ่อมจักรยาน ขนาดของปั๊มลม และ การจัดการระบบลมจะแตกต่างกันไป รวมถึงลักษณะของงานที่ทำอยู่ด้วย

ส่วนเครื่องมือที่ต้องใช้ควบคู่ไปกับปั๊มลม ก็ได้แก่ ปืนลม,ส่วานลม,ไขควงลม,บล๊อกลม,เครื่องยิงตะปู,ถังฉีดโฟม,เครื่องขัดสี,กา พ่นสี หรือแม้แต่เครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิต ในโรงงานอุตสาหกรรม เราจึงต้องเลือกใช้ปั๊มลมให้เหมาะสมกับงาน
  

ชนิดของเครื่องอัดลม 
1.ปั๊มลมแบบลูกสูบ (Piston Compressor) สามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 2 ชนิด
1.1 ปั๊มลมลูกสูบอัดชั้นเดียว (Single Stage) ปั๊มลมแบบนี้จะทำหน้าที่ดูดและอัดอากาศ แล้วส่งออกไปใช้งานหรือเข้าถังเก็บ ซึ่งสามารถสร้างแรงดันใช้งานอยู่ในช่วง 7-10 บาร์ หรือ 101-145 psi

ปั๊มลมชนิดนี้ เหมาะสำหรับ การใช้งานกับเครื่องมือลมปกติ หรือ ใช้เติมลมยางรถยนต์ทั่วไป รวมทั้งใช้ในร้านคาร์แคร์อีกด้วย เพราะโดยทั่วไปเครื่องมือที่ใช้ จะมีความต้องการแรงดันไม่เกิน 5-6 บาร์ อยู่แล้ว
 

ปั๊มลมซิงเกิ้ลสเตจ แบบทั่วไป



1.2 ปั๊มลมลูกสูบอัดสองชั้น (Two Stage) ปั๊มลมลูกสูบชนิดนี้ จะทำงานโดยให้ลูกสูบแรกอัดอากาศความดันต่ำผ่านท่อระบายความร้อน ลูกสูบที่สองก็จะทำการอัดอากาศให้มีความดันสูงอีกครั้ง เพื่อให้ได้แรงดันมากกว่า 10 บาร์ขึ้นไปประมาณ 12-16 บาร์ หรือ 174-220 psi

 

จุดสังเกตุ ปั๊มลมทูสเตจ หรือ ปั๊มลมไฮเพรชเชอร์ แรงดัน 12-15 บาร์


วิธีการเลือกใช้ปั๊มลม
 



หลักการง่ายๆในการเลือกใช้ปั๊มลมให้เหมาะสมกับงานที่ต้องใช้ คือ เลือกจากลักษณะของงานซ่อมรถยนต์สามารถแบ่งเป็นประเภทการทำงานได้ 3 ประเภทดังนี้

1.งานพ่นสี

งานประเภทงานซ่อมสีจะใช้เครื่องมือที่ต้องใช้ลมในการทำงานเยอะกว่าประเภทอื่นๆ และในการใช้งานเครื่อง มือลมแต่ละครั้งจะใช้เป็นเวลานานจึงจำเป็นต้องใช้ลมในปริมาณที่มากพอสมควร รวมถึงต้องใช้พื้นที่ในการทำงานมากทำให้ขนาดของอู่หรือศูนย์บริการมีขนาด ใหญ่ การจัดการระบบลมจะต้องมีการคำนวณจากระยะพื้นที่และการใช้ปริมาณลมเพื่อใช้ในการเดินท่อลมและการเลือกขนาดของถังพักลม 

2.ช่วงล่างและยาง


งานประเภทช่วงล่างและยางจะมีเครื่องมือค่อนข้างเยอะ แต่เครื่องมือเหล่านี้จะต้องใช้ลมที่มีแรงดันสูงเช่นใช้กับ เครื่องถอดยาง ,บล็อกลม เครื่องเติมลมยาง โดย เฉพาะศูนย์บริการที่ทำรถบรรทุกใหญ่ต้องใช้แรงดันลมที่มากพอสมควร แต่การทำงานของเครื่องมือแต่ละตัวจะใช้เวลาไม่มาก ปริมาณลมที่ใช้จะน้อยกว่าประเภทงานสี 

3. ประเภทเครื่องยนต์และทั่วไป


งาน ประเภทซ่อมเครื่องยนต์และซ่อมทั้วไปจะมีการใช้เครื่องมือลมค่อนข้างน้อย เครื่องมือส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นประเภท HAND TOOLS และเครื่องมือพิเศษ ปริมาณการใช้ลมจึงน้อยกว่า 2 ประเภทแรก การเลือกขนาดของปั๊มลมในลักษณะงานประเภทนี้จะแบ่งเป็น 4 ขนาด

การเลือกขนาดของปั๊มลมจะแบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้

      -  อู่ขนาดเล็ก ให้เลือก ปั๊มลมขนาด 3 แรงม้า ขนาดถัง 245 ลิตรขึ้นไปกระแสไฟมีทั้ง 220 Volt และ 380 Volt แล้วแต่ระบบไฟฟ้าที่มี ซึ่งแนะนำให้ใช้ 380 Volt 

      -  อู่ขนาดกลาง ให้เลือก ปั๊มลมขนาด 5 แรงม้า ขึ้นไปขนาดถัง 304 ลิตร ถ้ามีเครื่องมือซ่อม ขนาดใหญ่ หรือ ใช้งานพร้อมกันหลายจุด ควรเลือกขนาด 7.5 แรงม้าถัง 304 ลิตร กระแสไฟควรเป็น 380 Volt เนื่องจากหากจะใช้ไฟ 220 Volt ราคาของมอเตอร์จะมีราคาสูงกว่าปกติ

      -  อู่ขนาดใหญ่หรือศูนย์บริการ ให้เลือก ปั๊มลมขนาด 10- 15 แรงม้า ถัง 300 - 500 ลิตร พร้อม ถังพักลม ขนาด 500-1000 ลิตร เนื่องจากมีการใช้งานลมอย่างต่อเนื่องครั้งละมากๆจึงควรเลือกขนาดนี้ เพื่อรักษาแรงดันในการใช้งานให้คงที่ตลอดเวลา


หมายเหตุ : การเลือกขนาดของปั๊มลมดังกล่าวสามารถเพิ่มหรือลดได้ตามสภาพการใช้งานจริง 

http://akarasolution.blogspot.com/2014/06/blog-post.html

Visitors: 1,161,820